เนื้อความ :
วัตถุประสงค์ของโครงการ 1) เพื่อให้นักวิชาการและนักวิจัยทั้งชาวไทยและนักวิชาการจีน ได้นำเสนอผลงานทางวิชาการ/การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นไทย-จีน ในด้านการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน 2) เพื่อสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยร่วมกันระหว่างนักวิชาการไทย-จีน หรือการศึกษาวิจัยในประเด็นคล้ายคลึงกันหรือเชื่อมโยงกันต่อไป 3) เพื่อนำความรู้/องค์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนของนักวิชาการไทยและจีนมาใช้ในการจัดทำนโยบาย และ/หรือยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศต่อไป 4) เพื่อสร้างเครือข่ายนักวิจัยไทย-จีนในด้านการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน
รูปแบบการจัดสัมมนา การบรรยายพิเศษโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และการนำเสนอผลงานวิจัยภายใต้หัวข้อหลัก “Jointly Building a China-Thailand Community with a Shared Future in the New Era” โดยมี 4 หัวข้อย่อย ดังนี้ 1) Poverty Reduction and Development Governance 2) The 10th Anniversary of the B&R Initiative and China-Thailand Cooperation 3) Trade, Investment and Tourism in the Post-COVID-19 Era 4) China - Thailand Studies and People-to-people Exchange ภาษาที่ใช้ในการสัมมนาคือ ภาษาไทยและภาษาจีน โดยจะมีล่ามไทย-จีนทำการแปลสดผ่านหูฟัง
วัน เวลา และสถานที่ วันที่ 25 – 29 พฤศจิกายน 2566 เวลา ณ เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน
หน่วยงานที่จัดสัมมนา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียว (Huaqiao University, HQU) สาธารณรัฐประชาชนจีน China Society for Southeast Asian Studies (CSSAS) และ สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย–จีน
กลุ่มเป้าหมาย นักวิชาการและนักวิจัยทั้งชาวไทยและนักวิชาการจีน จำนวนประมาณ 100 คน ภาษาที่ใช้ ภาษาที่ใช้ในการสัมมนา : ภาษาไทย และ ภาษาจีน ภาษาที่ใช้ในบทคัดย่อ (Abstract) : ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ภาษาที่ใช้ในรายงานการวิจัย (Research Report) : ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ ภาษาที่ใช้ในการนำเสนองาน (Oral Presentation) : ภาษาไทย หรือ ภาษาจีน ภาษาที่ใช้ในการนำเสนอด้วยสไลด์ (PowerPoint) : ภาษาอังกฤษ (หมายเหตุ ในการสัมมนานี้จะมีล่ามจีน – ไทย ทำการแปลสดผ่านหูฟัง)
การส่งผลงานเพื่อพิจารณา ผู้สนใจโปรดดำเนินการ ดังนี้ 1) จัดทำบทคัดย่อทางวิชาการ (Abstract) เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 500 คำ และรายงานการวิจัย (Research Report) เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวนไม่เกิน 15 หน้า อย่างละ 1 ฉบับ โดยเอกสารภาษาไทยใช้ตัวอักษร AngsanaUPC ขนาด 16 และเอกสารภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษร Times New Roman ขนาด 12 2) ส่งหนังสือนำส่งจากต้นสังกัด แบบฟอร์มนำส่งผลงาน (Abstract Submission Form) ที่ดำเนินการแล้ว ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ของบทคัดย่อ และรายงานการวิจัย มายังกลุ่มวิเทศสัมพันธ์ (วช.) อีเมล irr@nrct.go.th 3) ปิดรับสมัคร บทคัดย่อ และรายงานการวิจัย ภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566
ผลงานที่ผ่านการพิจารณา วช. จะแจ้งผลการพิจารณาผลงานวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ วช. ภายในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 โดยผลงานที่ผ่านการพิจารณาทั้งหมด จะได้รับการสนับสนุนจาก วช. สำหรับการเดินทางไปและกลับระหว่างประเทศ (กรุงเทพ – เซี่ยเหมิน) เพื่อเดินทางไปนำเสนอผลงาน ณ เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน และมหาวิทยาลัยหัวเฉียวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Huaqiao University, HQU) จะเป็นผู้สนับสนุนด้านที่พักในสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างการสัมมนา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กลุ่มวิเทศสัมพันธ์ (วท.) สำนักงานเลขานุการกรม (สลก.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โทรศัพท์ 02-561-2445 ต่อ 211, 212 อีเมล์ irr@nrct.go.th
|